สายรัด Tie-Downs ก็ต้องมีการเก็บรักษาอย่างถูกต้อง

ส่วนใหญ่แล้วเมื่อต้องส่งของด้วยรถ Flatbed เรื่องการใช้อุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพมักถูกมองข้ามเนื่องจากขนส่งส่วนใหญ่ต้องทำเวลา แต่ถ้าวันใดวันหนึ่งสายรัดเกิดขาดขณะที่รถกำลังเลี้ยวหรือมีการเบรคกระทันหันทำให้สัมภาระล่วงหล่น คุณอาจจะเสียดายที่ไม่ได้ทำการเช็คอุปกรณ์รัดเหล่านั้นให้ดีก่อนทำการจัดส่ง
สายรัด Tie-Downs ก็ต้องมีการเก็บรักษาเช่นเดียวกับของประเภทอื่นๆ และมีวิธีการจัดเก็ยที่ถูกต้อง ซึ่งแน่นอนต้องเก็บไว้ในที่แห้ง การแขวนโซ่บน headboard นั้นถือว่าเป็นสิ่งที่โอเคเพราะสามารถทนต่อฝนหรือน้ำแข็งและแห้งได้เองเมื่อแดดออก ในทางกลับกันกล่องเก็บเครื่องมืออาจจะไม่ได้กันน้ำซึ่งสามารถทำให้เกิดสนิมได้ตลอดเวลา
สายแบบผ้าสังเคราะห์สามารถเก็บไว้ภายในกล่องเครื่องมือได้ดีและถึงแม้ว่าจะไม่เกิดสนิม แต่สายประเภทนี้สามารถเกิดเชื้อราได้ ควรเก็บของเหล่านี้ไว้ในกล่องที่ป้องกันการรั่วซึมเพื่อให้แห้งตลอดเวลาและป้องกันแสงแดดที่อาจทำให้เกิดการเสื่อมสภาพได้ และพยายามทำความสะอาดอยู่ตลอดเวลาหากมีคราบน้ำมันอยู่บนพื้นรถพ่วง
สายรัดTie-Downsที่ไม่ใช้งานมักจะถูกเก็บไว้ในกล่องหรือถังหลังรถบรรทุกหรืออาจจะปนๆกันไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะอยู่ในสภาพที่ยุ่งเหยิงและสกปรกและคุณก็จะตัดสินความทนทานตามการเก็บรักษาของคุณ
• ใช้สายรัด web strap อย่างถูกต้องภายในขีดความสามารถสำหรับงานนั้นๆ โปรดจำไว้ว่ามุมระหว่างโหลดและจุดยึดจะส่งผลต่อจำนวนน้ำหนักที่จะถ่ายไปยังสายรัด
• ดูว่าคุณคลุมสายรัด drape strap อย่างไร ยกเว้นกรณีถ้าคุณชอบซื้อของใหม่เรื่อยๆ พยายามหลีกเลี่ยงการใช้สายรัดกับขอบที่มีคม มุมและอื่น ๆ หากสิ่งเหล่านี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ให้ใช้วัสดุเช่นไม้ไม้ ผ้า ยาง ฯลฯ เพื่อป้องกันระหว่างสายรัดกับสัมภาระ
• สินค้าบางอย่างได้รับการระบุโดยเฉพาะตามมาตรฐานการใช้สายรัด เช่น ขดลวดโลหะขนาดใหญ่ซึ่งจะต้องบล็อกและผูกยึดไว้ และมีสินค้าอื่น ๆ อีก 12 ชนิด เช่น หิน เศษเหล็กหรือบรรจุภัณฑ์อัดแบบม้วนและแบบ intermodal ท่อคอนกรีตม้วน กระดาษและท่อนซุงเป็นต้น
• ใช้ความระมัดระวังในการถอดสายรัด อย่าดึงออกมาจากภายใต้สินค้า ซึ่งอาจจะทำให้้ขาดได ม้วนสายแต่ละสายขณะที่คุณถอดออกเพื่อให้ไม่โดนสิ่งสกปรกและน้ำ การปฏิบัติเช่นนี้นี้จะช่วยยืดอายุของสายรัดได้
• หลีกเลี่ยงการใช้สายรัดที่มีความเสียหาย หากคุณต้องการความปลอดภัยให้เปลี่ยนสายรัดทันทีหากมีความเสียหายเกิดขึ้นเพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าสายรัดนั้นสูญเสียคุณภาพไปมากแค่ไหน การพยายามที่จะซ่อมสายรัดด้วยการผูกเข้าด้วยกันก็ไม่ปลอดภัยและไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าความรู้ลูกเสือคุณจะแน่นแค่ไหน
• สายรัด Tie-Downs ไม่เหมาะสำหรับใช้ยก หรือห้อยขนย้ายสินค้า เนื่องจากมีอุปกรณ์สำหรับการปฏิบัติเหล่านั้น
แหล่งที่มา : https://www.thestrapjacket.com/tie-down-storage
http://www.truckinginfo.com/channel/maintenance/article/story/2009/06/tie-downs-need-proper-storage-and-use.aspx
03inspectorateasia.co.th
Inspectorate Asia


ดูเบอร์เรา คลิกเลย!!




โทรหาเรา คลิกเลย!